กูเกิ้ลดอคส์คืออะไร อธิบายได้ง่ายนิดเดียว (Google Docs in Plain English)
บ้าน
คือที่ๆเราเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในชีวิตของเรา
ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตัดหญ้า หรือเครื่องทำกาแฟ
ทุกอย่างอยู่ในพื้นที่บ้านของเรา
แน่นอนครับ
เอกสารต่างๆของเราก็ไม่ต่างกัน เอกสารอยู่ในคอมพิวเตอร์ของเรามานานเป็นปีๆ
และทุกๆคนก็มีคอมพิวเตอร์สำหรับเก็บเอกสารของตัวเอง
เวลาที่เราต้องการส่งเอกสารสักอย่าง เรามักจะแนบ (Attach)
เอกสารนั้นไปกับอีเมล และส่งอีเมลไปให้เพื่อนเรา แต่ปัญหาอยู่ตรงนี้ครับ
เวลาที่เราแนบเอกสารไปกับอีเมลเพื่อส่งให้เพื่อน เอกสารนั้นจะถูกทำสำเนา
(Copy) ไว้ ลองคิดดูอย่างนี้สิครับ
หากคุณต้องการส่งเอกสารอย่างหนึ่งไปให้เพื่อนสามคน
เอกสารเดียวกันนั้นจะต้องมีถึงสี่ก๊อบปี้
มันมีวิธีที่ดีกว่านั้นครับ และด้วยวิธีนี้คุณสามารถบอกลาการแนบเอกสารไปกับอีเมลที่แสนจะยุ่งยากได้เลย
พื้นที่
เก็บเอกสารแบบใหม่นี้ไม่ได้อยู่บนคอมพิวเตอร์ของคุณ
แต่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ทครับ และวิธีนี้จะทำให้การแบ่งปัน (Sharing)
และการร่วมกันใช้ (Collaborating) เอกสารเป็นเรื่องง่ายขึ้นเยอะ
แถมคุณยังควบคุมได้ด้วยว่าจะให้ใครสามารถเข้ามาดูเอกสารของคุณได้
แนว
ความคิดพื้นฐานเป็นอย่างนี้ครับ
แทนที่จะต้องแนบเอกสารต่างๆไปกับอีเมลให้วุ่นวาย
เราลองมาคิดกันดีกว่าว่าจะทำยังไง ให้เราสามารถผูกอีเมลแอดเดรส (E-mail
Address) หลายๆอันเข้ากับเอกสารๆเดียวได้
นี่แซมครับ
แซมเป็นบรรณาธิการ (Editor) ให้กับจดหมายข่าวของชุมชนที่มีชื่อว่า “เดอะ
โอ๊คทรี วิว”
และแซมต้องทำงานร่วมกับนักเขียนหลายคนที่ต้องการตีพิมพ์บทความลงในจดหมาย
ข่าวนี้ แซมชอบงานนี้มาก
แต่บางครั้งเธอก็รู้สึกหงุดหงิดที่ต้องมานั่งเสียเวลาจัดการกับบทความมากมาย
มันเป็นเรื่องที่เธอเจอบ่อยๆครับ
เพราะทุกๆเดือนนักเขียนแต่ละคนจะแนบบทความของพวกเขาเข้ากับอีเมลแล้วส่งมา
ให้เธอ เธอต้องตรวจทานบทความทั้งหมด
แล้วแนบใส่อีเมลส่งกลับไปพร้อมกับข้อติชมของเธอ
แค่บทความเดียวอาจมีบทร่างถึงหกฉบับด้วยกัน
นี่ยังไม่ได้พูดถึงอีเมลอีกนับไม่ถ้วนนะครับ
แซมมักรู้สึกปวดเศียร
เวียนเกล้ากับเอกสารแนบที่มากับอีเมลพวกนี้
เธอต้องมาคอยนั่งจดจำฉบับร่างต่างๆมากมายของบทความที่นักเขียนส่งมาให้เธอ
ยิ่งใกล้กำหนดเส้นตายใกล้เข้ามาก็ยิ่งเครียด คงต้องเปลี่ยนวิธีทำงานแล้วล่ะ
แซมตัดสินใจลองวิธีใหม่ คือ “กูเกิ้ลดอคส์” (Google Docs) แล้วมันก็เป็นอย่างนี้ครับ
ก่อน
อื่นเธอเข้าไปที่เวบเพจของกูเกิ้ลดอคส์ และสร้างชื่อผู้ใช้ใหม่ (Create
Account) จากนั้นเธอก็ล๊อคอิน (Log In) เข้าใช้
และเนื่องจากเธอมีบทความบางส่วนที่เขียนเอาไว้แล้ว เธอจึงสามารถอัพโหลด
(Upload) ฉบับร่างที่เธอมีอยู่ขึ้นไปจากคอมพิวเตอร์ของเธอได้โดยตรง
ด้วยเวลาเพียงแป๊บเดียว
กูเกิ้ลดอคส์ก็เปลี่ยนเอกสารของเธอให้กลายเป็นเอกสารออนไลน์ได้ทันที
คราว
นี้ แซมก็แค่เชิญ (Invite) ให้นักเขียนทุกคนมาร่วมกันแก้ไข (Collaborate)
เอกสารได้เลย ทำอย่างนี้ครับ เธอก็แค่กดแบ่งปัน (Share)
แล้วพิมพ์อีเมลแอดเดรสของนักเขียนลงไป จากนั้นก็คลิกที่ปุ่ม เชิญผู้ร่วมใช้
(Invite Collaborators) กูเกิ้ลดอคส์จะส่งลิงค์ (Link)
ที่ปลอดภัยเพื่อนำให้นักเขียนแต่ละคนเข้าไปหาเอกสารของแซมได้โดยตรง
แค่คลิกเดียว บรรดานักเขียนก็สามารถเข้าไปแก้ไขและเซฟเอกสารออนไลน์ได้ทันที
นี่หมายความว่าเมื่อนักเขียนชื่อจูลี่แก้ไขเอกสารนั้น
แซมจะสามารถเห็นการแก้ไขได้ทันที และเนื่องจากมีเอกสารออนไลน์ฉบับเดียว
เราจึงลืมความยุ่งยากและสับสนเกี่ยวกับฉบับร่างต่างๆ
ว่าอันไหนเก่าอันไหนใหม่ไปได้เลย
เอกสารล่าสุดรวมทั้งฉบับร่างทุกฉบับจะถูกเซฟไว้บนเวบไซท์นี้
เป็นครั้ง
แรกที่บทความต่างๆจะอยู่รวมกันในที่ๆเดียว
ซึ่งสามารถจัดระเบียบและแก้ไขได้จากคอมพิวเตอร์ทุกๆเครื่องที่ต่อเข้ากับ
เครื่องข่ายอินเตอร์เน็ท หมดปัญหาซะที
ที่เจ๋งไปกว่านั้นก็คือ
บริการนี้ไม่ได้ใช้ได้กับเอกสารธรรมดาเท่านั้น แต่ยังใช้งานกับตาราง Spread
Sheet และ พรีเซนเทชัน (Presentation) ต่างๆได้ด้วย
เอกสารทั้งสามแบบสามารถมีพื้นที่บนเวบได้
และทำงานได้เหมือนกับเอกสารของแซมได้เลย
แซมรู้สึกโล่งขึ้นเยอะเลย
ครับ
เนื่องจากเธอไม่ต้องมาจัดการกับเอกสารแนบและฉบับร่างมากมายที่ต้องมาสุ่ม
อยู่ที่เธอคนเดียวแล้ว เธอก็ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการได้เต็มที่
และไม่ใช่นักจัดเก็บเอกสารอีกต่อไป จดหมายข่าวฉบับหน้า
แซมไม่ต้องมายุ่งยากกับเอกสารแนบและอีเมลมากมาย
เธอเลยทำงานเสร็จก่อนเส้นตายตั้งหนึ่งอาทิตย์
การร่วมกันใช้เอกสารทำได้ง่ายๆ และไม่มีค่าใช้จ่ายด้วยครับ กูเกิ้ลดอคส์ สุดยอด!
Cr.http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_youtube.php?youtube_id=286
564606com
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
Google desktop คืออะไร
Google Desktop พลังการค้นหาทะลุทะลวง
วันนี้ผมจะมาแนะนำเครื่องมือที่น่าจะมี
ประโยชน์กับทุกๆคนให้ได้รู้จักกัน 1 ตัว นั่นก็คือ Google Desktop นั่นเอง
พูดแบบนี้แล้วกว้างครับเอาเป็นว่าผมจะแนะนำ Quick Search box
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเจ้า Google Desktop
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราเข้าถึง google ได้ง่ายขึ้น ทำให้ google
สามารถเข้ามาค้นหาไฟล์ต่างๆภายในเครื่องของเราได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว
เร็วกว่าการ search ของ windows เองด้วยซ้ำไป
งั้นเรามาทำความรู้จักกับ Google Desktop กันเถอะ
เข้าไป download โปรแกรมนี้ได้ที่นี่ครับ http://desktop.google.com หลังจากนั้นเราจะได้ไอค่อน .exe ของมันมา

double click เพื่อลงมือติดตั้ง

เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว
เราจะได้แถบเครื่องมือที่ไม่คุ้นตาอยู่ทางด้านขวามือของหน้าจอ
ส่วนนี้เรียกว่า Google Desktop Sidebar
หน้าที่กาำรทำงานของมันก็คล้ายกับอุปกรณ์อำนวยความต่างๆ เช่น สมุดโน๊ต,
ตารางนัดหมายงาน, พยากรณ์อากาศ, ข่าววันนี้, ฯลฯ มีเยอะมากครับ
ลองไปเล่นกันดู

ภาพนี้เป็นของเล่นเพิ่มเติมในส่วนของ Google Desktop Sidebar ครับ

แต่สิ่งที่ผมแนะนำไม่ใช่ Google Desktop
Sidebar แต่เป็นสิ่งที่เรียกว่า Quick Search Box
สิ่งที่ทำให้เราค้นหาไฟล์ภายในเครื่องได้อย่างรวดเร็ว ลองกด Ctrl 2 ครั้ง
ติดๆกันดูนะครับ แล้วจะเห็น Quick Search Box ขึ้นมา

ตอนแรกจะยังโล่งๆอยู่ ไม่ว่ากดพิมพ์อะไรก็ไม่เกิดอะไรขึ้น ลองคลิกไปที่ตัวเลือก เพื่อตั้งค่าให้กับมัน

เมื่อคลิกไป โปรแกรมจะเปิด ie ให้เอง
ไม่ต้องตกใจครับ ไม่ได้ต่อเน็ตแต่อย่างใด แต่เป็นการ set up เฉยๆ
ให้ไปที่แถบเมนูด้านซ้ายมือสุด แล้วตั้งค่าให้ Quick Search Box
สามารถค้นหาไดรฟ์อะไรภายในเครื่องของเราได้บ้าง หลังจากตั้งค่าเสร็จแล้ว
ให้เราปล่อยทิ้งคอมไว้เฉยๆ เพื่อให้ Quick Search Box
ทำการเก็บข้อมูลว่าภายในเครื่องของเรามีอะไรบ้างตามที่เราตั้งค่าไว้ว่าให้
ไปค้นหาอะไร ทิ้งเอาไว้นานเหมือนกันครับ
ลองแว๊บๆมาดูก็ได้ครับว่าเสร็จรึยัง
แต่ถึงแม้ว่ายังไม่เสร็จก็สามารถใ้ช้งานได้แล้วครับ

หน้าจอของการใช้งานเมื่อ Quick Search Box
ทำการค้นหาภายในเครื่องของเราได้บางส่วน
จะเห็นว่าเราพิมพ์ไปเพียงไม่กี่ตัวอักษร ก็จะมีลิสด้านล่างขึ้นมา
ว่าสิ่งที่เราพิมพ์ไปนั้น น่าจะเป็นอะไรภายในเครื่องของเรา
ค่อนข้างสะดวกเลยทีเดียวสำหรับคนที่จัดเก็บไฟล์ไม่เป็นระเบียบ
มีไฟล์ต่างๆเยอะมาก ช่วยลดเวลาในการค้นหาได้เป็นอย่างดี และเมื่อเราลบไฟล์
หรือเพิ่มไฟล์อื่นๆภายในเครื่องของเรา Quick Search Box ก็จะเก็บข้อมูลไว้
แล้วอัพเดดตัวของมันเอง
เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลภายในเครื่องของเราตามความเป็นจริงที่สุด

Cr.http://www.aspgod.com/google/google-desktop-%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%A7.html
Google finance คืออะไร
Google Finance บริการสำหรับดูข้อมูลการซื้อขายในตลาดหุ้นจากกูเกิล ได้ประกาศรองรับการดูข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
แล้ว หลังจากการเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2006 (7 ปีที่แล้ว)
โดยพร้อมกันนี้ยังมีตลาดหุ้นจาก 4 ประเทศได้แก่ บราซิล, ตุรกี,
สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย ที่ทาง Google Finance
ได้เพิ่มเข้ามาในครั้งนี้อีกด้วย
สำหรับข้อมูลหุ้นไทยใน Google Finance นั้นจะมีอัตราการอัพเดทข้อมูลช้ากว่าเวลาจริงประมาณ 15 นาทีครับ

ตัวอย่างการดูราคาหุ้นใน SET ด้วย Google Finance
PTT

CPALL

SCB

Cr.http://www.9tana.com/node/google-finance-thailand/
สำหรับข้อมูลหุ้นไทยใน Google Finance นั้นจะมีอัตราการอัพเดทข้อมูลช้ากว่าเวลาจริงประมาณ 15 นาทีครับ

ตัวอย่างการดูราคาหุ้นใน SET ด้วย Google Finance
PTT

CPALL

SCB

Cr.http://www.9tana.com/node/google-finance-thailand/
Google reader คืออะไร
หลังจากที่เมื่อเช้ากูเกิลก็ประกาศเปิดตัว Google Reader โฉมใหม่
แม้อาจจะไม่สามารถเรียกเป็นเวอร์ชั่น 2.0 ได้
เพราะตัวแรกของกูเกิลนั้นอินเทอร์เฟชแย่มากจนใช้งานจริงแทบไม่ได้
แต่การกลับมาครั้งนี้
อาจจะเป็นการแสดงความสามารถของกูเกิลอีกครั้งในการดึงผู้ใช้จากบริการคู่
แข่ง เช่น Bloglines เช่นเดียวกับที่ Gmail ได้ดึงผู้ใช้จาก Yahoo! Mail
และ Hotmail ไปแล้วมหาศาล น่าสนใจว่าการปรับปรุงครั้งนี้
ดูหน้าตาซ้ายขวาแล้ว ช่างมีหลายส่วนละม้ายไปทาง Bloglines มากซะเหลือเกิน
หรือ Google Reader จะกลายเป็นเพียง Bloglines ที่เพิ่ม AJAX อีกนิดหน่อย
แล้วแปะตรากูเกิลเข้าไป มีเพียงผู้ใช้เช่นคุณเท่านั้นที่ตัดสินได้
ต้องยอมรับว่านาทีแรกนั้น ผมไม่ได้สนใจ Google Reader อะไรมากมายนัก นอกจากการทดสอบเมื่อหลายเดือนก่อน แล้วพบว่ามันเป็นเพียงอีกเว็บที่กูเกิลเอาไว้โชว์ AJAX เท่านั้นเอง หน้าตาที่ครั้งแรกดูเหมือนจะถอดแบบมาจาก Bloglines ยิ่งลดความน่าสนใจลงไปอีก แต่สิ่งหนึ่งที่เรียกความสนใจผมได้จริงๆ คือการ Export รายการบล็อกของเราออกมาเป็นไฟล์ OPML ได้ ทำให้เราไม่ต้องยึดติดกับกูเกิลตลอดไป ในกรณีที่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า ผมเริ่มย้ายรายการต่างๆ เข้ามาใน Google Reader แล้วการทดสอบครั้งนี้ก็เริ่มต้นขึ้น
ต้องยอมรับว่านาทีแรกนั้น ผมไม่ได้สนใจ Google Reader อะไรมากมายนัก นอกจากการทดสอบเมื่อหลายเดือนก่อน แล้วพบว่ามันเป็นเพียงอีกเว็บที่กูเกิลเอาไว้โชว์ AJAX เท่านั้นเอง หน้าตาที่ครั้งแรกดูเหมือนจะถอดแบบมาจาก Bloglines ยิ่งลดความน่าสนใจลงไปอีก แต่สิ่งหนึ่งที่เรียกความสนใจผมได้จริงๆ คือการ Export รายการบล็อกของเราออกมาเป็นไฟล์ OPML ได้ ทำให้เราไม่ต้องยึดติดกับกูเกิลตลอดไป ในกรณีที่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า ผมเริ่มย้ายรายการต่างๆ เข้ามาใน Google Reader แล้วการทดสอบครั้งนี้ก็เริ่มต้นขึ้น
รูปที่ 1 หน้าแรกหลัง login
รูปที่ 2 แถบเลือกอ่าน feed
ครั้งแรกที่เข้ามาถึงหน้าแรก ผมบอกกับตัวเองทันทีว่า
นี่มัน Bloglines เลยนี่หว่า แถมแถบเลือกดันปิดแบบ Bloglines ไม่ได้ซะอีก
(จะลอกแล้วยังลอกไม่ครบ) แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วการวางหน้าจอโปรแกรมอ่าน Feed
นั้นก็เป็นรูปแบบนี้แทบทุกโปรแกรม
โดยเฉพาะหากรวมเอาโปรแกรมเดสก์ทอปเอาไว้ด้วยแล้ว
หน้าจอแรกเป็นจุดเริ่มต้นที่ Google Reader ทำได้ดีมาก
ด้วยการพยายามแสดงเนื้อหาที่ผู้ใช้ "อาจจะ" อยากอ่านตั้งแต่หน้าแรก ทำให้
Google Reader เป็นเหมือนเว็บสำนักข่าวส่วนตัวย่อยๆ ของเราทีเดียว
ส่วนของตัวเลือกการอ่าน feed
นั้นแม้จะเป็นแบบแผนผังต้นไม้ตามสมัยนิยม แต่ยังคงรูปแบบของ Tags
เอาไว้คล้าย Gmail ทีเดียว ใครใช้ Tags ใน Gmail บ่อยๆ น่าจะชอบในส่วนนี้
(ของผมใช้แต่ตัวเสิร์ช)
รูปที่ 3 หน้าจออ่าน feed แบบ List view
รูปที่ 4 อ่านบทความโดยคลิกที่ชื่อบทความ หรือกด j
รูปที่ 5 หน้าจออ่านแบบ Expanded view
หน้าจออ่านบทความนั้นมีสองโหมดคือ List view และ Expanded
view จุดนี้เป็นส่วนที่ทำให้ผมยอมรับอย่างแท้จริงว่า Google Reader
ตัวนี้ใช้งานได้จริงแล้ว เพราะมันให้ความสะดวกสบายในการอ่านบทความยาวๆ เช่น
Engadget ไปพร้อมๆ กับความเร็วในการอ่านบทความสั้นๆ อย่ง digg หรือ
del.icio.us และเช่นเดียวกับโปรแกรมอื่นๆ ของกูเกิล
ฟีเจอร์ทั้งหมดสามารถเข้าถึงจากคีย์บอร์ดได้โดยไม่ต้องใช้เมาส์
เช่นการเปลี่ยนโหมดนีอาจจะกด 1 หรือ 2 เพื่อสลับโหมดไปมา
การกระโดดข้ามบทความไปข้างหน้าจะใช้ปุ่ม j และย้อนหลังใช้ปุ่ม k
รูปที่ 6 เนื้อบทความ
เมื่อเข้ามาดูส่วนการแสดงบทความแต่ละบทความ จะพบว่า Google
Reader ตัวนี้เหมือนเป็นการรวมเอา Gmail เข้ากับ Bloglines ยังไงอย่างนั้น
ระบบ Star ที่ตามมาจาก Gmail ใช้งานตรงตัว ส่วน tags นั้นผมชอบกว่าของ
Gmail เสียอีกเพราะสามารถแก้ไขได้ในแบบ AJAX กันตรงๆ ที่ชอบมาก
คือการบอกเวลาในรูปแบบของ Gmail
ที่บอกว่าบทความนี้โพสมาแล้วเป็นเวลานานเท่าใหร่
แทนที่จะบอกเวลาที่โพสให้ไปนั่งนึกกันเอง
รูปที่ 7 ฟอร์มเพิ่ม feed
รูปที่ 8 ฟอร์มแก้ tags
ถ้าบอกว่ากูเกิลทำเว็บแล้วไม่มี AJAX
อาจจะเป็นกูเกิลตัวปลอม เช่นเดียวกับโปรแกรมอื่นๆ Google Reader
ยังคงสามารถเพิ่ม feed ได้โดยการคลิกสองครั้ง และกรอกชื่อเว็บเท่านั้น
ที่ดูเจ๋งคือมันสามารถค้นหา feed ที่น่าจะใช้ feed ที่เราต้องการได้
เช่นการใส่ข้อความเพียงว่า Blognone ไปสั้นๆ ในกรณีที่มีเพียง feed
เดียวที่ตรงกับข้อความที่เราใส่มันจะเพิ่มเข้ามาให้ทันที แต่หากพบหลาย feed
ก็จะแสดงรายการให้เลือก
การแก้ tags เป็นส่วนที่ผมอยากให้ Gmail เป็นแบบนี้บ้าง
ด้วยการใช้ฟอร์มกรอกแบบ Free Tagging ทำให้เราสามารถพิมพ์ Tag
ที่เราคิดว่าเกี่ยวข้องได้ทันที
รูปที่ 9 หน้าจอจัดการ feed
ส่วนการจัดการ feed จริงๆ แล้วก็ไม่ได้ต่างจากโปรแกรมอื่นๆ
ของกูเกิลมากมาย แต่ความประทับใจส่วนตัวคือปุ่มเลือกแบบ Unassigned
ที่ได้ใช้ค่อนข้างบ่อย เพราะกูเกิลให้เพิ่ม feed ได้โดยไม่ต้องตั้งค่าอะไร
ส่วนนี้ทำให้การย้าย feed จาก Bloglines ง่ายขึ้นเป็นกอง ด้วยการเพิ่ม feed
ในทีละหมวด แล้วเลือก Unassign แล้วย้ายเข้าหมวดเดียวกัน
เรียบร้อยโรงเรียนจีน....
รูปที่ 10 เลือก folder ให้กับ feed
อย่างที่เล่าไปก่อนหน้านี้แล้วว่าการจัดการ feed ใน Google
Reader นั้นมีทั้งแบบ Tags และแบบ Folders โดยทั่วไปแล้วการเลือก Tags
นั้นใช้จัดการบทความแต่ละบทความเป็นหลัก ส่วน Folders นั้นก็จัดการเป็นราย
feed ไป แต่ตรงนี้เวลาเลือก folder ให้ใช้ชื่อเดียวกับ Tags แล้ว Tags
นั้นจะทำตัวเหมือนเป็น Folders ไปในตัว ออกจะงงๆ แต่ลองเล่นๆ
ดูน่าจะพอเข้าใจในการจัดการแบบแปลกๆ ซักหน่อยตรงนี้
รูปที่ 11 หน้าเว็บแชร์บทความ
รูปที่ 12 เว็บคลิปสำหรับแชร์บทความบทเว็บ
ฟีเจอร์หนึ่งที่ผมมองว่า "เท่ห์" (กินไม่ได้...) ของ
Google Reader คือส่วนการแชร์บทความ
แทนทีจะเป็นการให้คนอื่นมาดูว่าเราอ่านอะไรบ้างแบบเว็บอื่นๆ เช่น Bloglines
หรือ del.icio.us
แต่กูเกิลให้ผู้ใช้เลือกบทความที่คิดว่าเจ๋งไปช่วยกันเผยแพร่
ทั้งในรูปแบบเว็บสำเร็จ และเว็บคลิปให้เราเอาไปแปะบนเว็บของเราเอง พร้อมๆ
กับมี feed ให้อีกด้วย แม้จะดู "เจ๋ง" ดี แต่ตรงนี้คงเอาไว้เท่ห์ๆ
มากกว่าจะใช้งานจริงจังอะไร
รูปที่ 13 รายการคีย์บอร์ดที่รองรับ
รูปที่ 14 รายการ feed ให้เลือกเมื่อเลือกผ่านคีย์บอร์ด
อย่างที่เล่าไปตอนต้นๆ
ว่าเราสามารถใช้คีย์บอร์ดเข้าถึงได้แทบทุกหน้าจอใน Google Reader
นับเป็นจุดแข็งที่ปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะคนชอบใช้คีย์บอร์ดอย่างผมด้วยแล้ว
แม้จะมีข้อจำกัดที่เป็นเว็บแอพลิเคชั่นที่ไม่สามารถเข้าถึงปุ่ม Ctrl หรือ
Alt ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วการใช้คีย์บอร์ดใช้งาน Google Reader
นั้นก็ใช้งานได้ดี หน้าจอเลือก feed ที่ป๊อปขึ้นมาเมื่อเราเลือกรายการ feed
ใช้งานค่อนข้างง่าย แต่ตรงนี้คงต้องอาศัยการจำกันสักหนอ่ย
บทสรุป
โดยรวมแล้วแม้ Google Reader
จะไม่สามารถสร้างนวัตกรรมที่เหนือชั้นจากบริการเดิมๆ
ที่เราใช้งานได้อย่างเด่นชัดนัก แต่ส่วนตัวผมแล้วยังคงแนะนำให้คนอื่นๆ
ใช้งานมันได้อย่างเต็มปาก เพราะด้วยฟีเจอที่รองรับมาตรฐานเช่น OPML
ที่ผู้บริการบนเว็บรายอื่นไม่ค่อยมี
ทำให้เราไม่ต้องติดกับบริการของกูเกิลเมื่อเราต้องการย้ายออกในอนาคต
การตอบสนองของเว็บที่ค่อนข้างเร็ว และอินเทอร์เฟชที่ตรงไปตรงมากว่า
โดยกับผู้ใช้ Gmail เดิม
Cr.http://www.blognone.com/node/3064
Google chrome คืออะไร
Google Chrome คือ บราว์เซอร์ใหม่จาก Google

ก่อนอื่น ขออธิบายนิดนึงนะครับ ว่า Google Chrome คืออะไร (ใครรู้แล้วข้ามย่อหน้านี้เลยนะครับ)
Google Chrome คือเว็ป บราวเซอร์ (Web browser) ที่สร้างขึ้นโดย Google (พวกเดียวกับ IE,Firfox,Opera)
Google Chrome สุดยอด web browser ตัวใหม่ที่เปิดตัวออกมาให้ download google chrome มาติดตั้ง และใช้งานกันจากผู้ที่ได้ลองใช้ ส่วนใหญ่ก็ต่างชื่นชมในความสามารถที่ทำงานได้รวดเร็ว (เร็วกว่า firefox, IE) และ ที่สำคัญกินทรัพยากร RAM น้อยกว่า browser อย่าง Firefox แต่ก็มีข้อเสียคืดถ้าเปิด Flash Video แล้ว กินทรัพยากรมากว่า Browser ตัวอื่นๆ
ข้อเสียก็มีบ้าง และที่สำคัญขาด Plugin ทำให้การใช้งานจริงล่าช้า เช่น ขาด Delicious Plugin, Google Toolbar (ซึ่งไม่น่าขาด) แต่ก็อย่างว่านะครับ เพราะ Google Chrome ตัวนี้ เป็นแค่ตัวสำหรับเรียกน้ำย่อยเฉยๆ รอของจริงน่าจะ perfect มากๆ

การ ติดตั้งก็ไม่มีอะไรมากมาย เพียงแค่เข้าไปในเว็บของทางกูเกิล ( http://www.google.com/chrome ) อ่านเอกสารข้อตกลงการใช้งานกันเล็กน้อย ก็เริ่มดาวน์โหลดมาใช้งานได้เลย
Cr. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=440543
Google scholar คืออะไร
แนะนำเว็บไซต์การสืบค้นข้อมูลวารสารวิชาการ “Google scholar”
ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการเพื่อใช้ประกอบการเขียนผลงานทางวิชาการในการ เลื่อนระดับขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น เราสามารถค้นหาข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อาทิเช่น Microsoft Academic Search , Web of Science หรือทางเว็บไซต์ Thai Journals Online ซึ่งเว็บไซต์ดังกล่าวจะมีข้อมูลเกี่ยวกับบทความทางวิชาการที่เราต้องการ ในที่นี้ผู้เขียนจะขอแนะนำเว็บไซต์ในการค้นหาบทความทางวิชาการที่มี ประสิทธิภาพอีกช่องทางหนึ่งนั่นคือ Google scholar http://scholar.google.co.th/
Google Scholar เป็นวิธีที่ง่ายๆ ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง คุณสามารถค้นหาในสาขาวิชาและแหล่งข้อมูลต่างๆ มากมายได้จากจุดเดียว : บทความ peer-reviewed วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทคัดย่อ และบทความจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการแวดวงวิชาชีพ ที่เก็บร่างบทความ มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการศึกษาอื่นๆ Google Scholar ช่วยให้คุณสามารถระบุการค้นคว้าที่เกี่ยวข้องมากที่สุดในโลกแห่งการค้นคว้า วิจัยทางวิชาการ
(ที่มา : http://www.google.co.th/intl/th/scholar/about.html , online 25 ก.ค. 2556)
วิธีการเข้าถึงเว็บไซต์ Google Scholar
ให้เราพิมพ์ ชื่อเว็บไชต์ “http://scholar.google.co.th/” ที่ช่อง address bar ของโปรแกรมในการท่อง Internet ต่าง ๆ เช่น Internet Explorer , Google Chrome , Safari เป็นต้น ซึ่งจะแสดงเว็บไซต์ดังกล่าวตามรูปที่ 1
รูปที่ 1 แสดงการเข้าถึงเว็บฯ ด้วย โปรแกรม Internet Explorer

เมื่อเราเข้าเว็บไชต์ Google Scholar มาได้แล้ว จะมีช่องทางในการค้นหาได้หลายรูปแบบดังรูปที่ 2


รูปที่ 2 แสดงช่องในการค้นหาบทความทางวิชาการ
เช่น เราต้องการค้นหาบทความที่เกี่ยวกับ “การเขียนโปรแกรม” ในช่วงเวลา
ระหว่างปี คศ. 2000 ถึง คศ. 2013 เราสามารถค้นหาข้อมูลดังกล่าวได้
ตามรูปที่ 3
รูปที่ 3 แสดงการค้นหาบทความเกี่ยวกับ “การเขียนโปรแกรม” ระหว่างปี คศ.2000 – คศ.2013

รูปที่ 4 ผลลัพธ์ของการค้นหาบทความ (เมื่อเลือกการแสดงในหน้าที่ 3)
และถ้าเราสนใจบทความที่เกี่ยวข้อง เราก็คลิ๊กไปที่ชื่อบทความนั้น ๆ
ก็จะเข้าไป link เว็บไซต์ของบทความนั้น
ๆ ซึ่งในกรณีที่เจ้าของบทความได้อนุญาตให้เปิดเผยบทความนั้น ๆ
ผ่านทางสาธารณะ เราก็สามารถที่จะดูบทความนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น
สมมติว่าเราสนใจบทความที่ชื่อเรื่อง “โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องระบบอวัยวะภายในของกบ”
ก็จะเข้าไปสู่เว็บไซต์หน่วยงานเจ้าของบทความนั้นๆ
ที่ทำการเผยแพร่ตามรูปที่ 5
และเมื่อคลิ๊กเลือกดูก็จะได้รับบทความดังกล่าวเพื่อนำมาใช้เป็นกรณีศึกษา
ประกอบในการเขียนผลงานทางวิชาการต่อไป ตามรูปที่ 6
รูปที่ 5 แสดงเว็บไซต์ของหน่วยงานที่ทำการเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ

รูปที่ 6 แสดงรายละเอียดของบทความทางวิชาการ
แหล่งอ้างอิง 1.Google scholar สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2556, จาก http://scholar.google.co.th/
2.คลังความรู้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2556, จาก
http://www.anchan.lib.ku.ac.th/kukr/handle/003/18642
3.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบอวัยวะภายในของกบ สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2556, จาก
http://www.anchan.lib.ku.ac.th/kukr/bitstream/003/18642/1/KC4405024.pdf
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)